วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิสาหกิจชุมชน


วิสาหกิจชุมชน

 
สุมิตรา  บุญบำรุง.  (2552).  โครงการต้นแบบวิสาหกิจชุมชน เพื่อสนับสนุนการแปรรูปพริกไทยแบบครบวงจร: รายงานการวิจัย ( OTOP Modeling to Support the Pepper Processing).  กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยวิจัยแห่งชาติ.  ภาพประกอบ.  (ส.ร. 633.83 ส463ค ) 01/2554/51
             ศึกษาการจัดเครือข่ายการผลิต  ส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำมันหอมระเหย  การประหยัดพลังงานในการผลิต  ตรวจ หาและควบคุมคุณภาพทางเคมีและกายภาพจากสารสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ ควบคุมคุณภาพความสะอาดของพริกไทย สร้างแบรนด์ของสินค้า และส่งเสริมให้มีการนำไปใช้ในรูปแบบของ presevatives  ใน ผลิตภัณฑ์อาหารโดยการยับยั้งจุลชีพที่มีบทบาทในการเสื่อมเสียของอาหารประเภท ต่างๆ โดยทำการศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันพริกไทยต่อการยับยั้งเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ ทั้ง 12 ชนิด พบว่ามี 6 ชนิดที่ไวต่อน้ำมันพริกไทยดังนี้  Staphylococcus aureus, Vibrio cholerae, Vibrio parahemolyticus, Vibrio vulnificusAeromonas hydrophilaและ Aeromonas sobria  เมื่อทดสอบฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์โดยน้ำมันพริกไทย  พริก ไทยบดละเอียด และสารสกัดไคโตซานในตัวอย่างเนื้อไก่สดบด โดยเก็บตัวอย่างที่อุณภูมิ 6±2 องศาเซลเซียส พบว่าในกลุ่มตัวอย่างสามารถชลอการเน่าเสียได้มากกว่ากลุ่มควบคุม  คุณสมบัติของสารสกัดจากธรรมชาติทั้งน้ำมันพริกไทย  พริกไทยบด และไคโตซานนั้นจัดเป็น  antioxidant และ antimicrobial  ซึ่ง สอดคล้องกับการทดสอบทางด้านจุลินทรีย์ที่ได้ติดตามจำนวนของเชื้อที่ทำให้ อาหารเน่าเสีย พบว่าตัวอย่างเนื้อไก่สดบดผสมไคโตซานและน้ำมันพริกไทยจะช่วยเสริมฤทธิ์กัน และลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 2 log cfu/g และ เมื่อทดสอบเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในสีสันความน่ารับประทาน กลิ่น รสชาติและรสสัมผัส จากผลการประเมินพบว่าตัวอย่างเนื้อไก่บดที่เติมพริกไทยบด (1%) อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกด้านของประสาทสัมผัส จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ทดแทนวัตถุกันเสียในหมู่ผู้บริโภคที่ตระหนัก ถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพ
            ผลการศึกษาการยืดอายุการเก็บกุ้งโดยนำกุ้งขาวที่หุ้มด้วยพลาสติกและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 6 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 5 วัน  โดยมีการติดตามประเมินคุณภาพทางเคมี  จุลินทรีย์ และประสาทสัมผัส ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณด่างที่ระเหยได้ทั้งหมดเพิ่มขึ้น ระหว่างการเก็บรักษา จากผลการทดสอบทางเคมี จุลินทรีย์และประสาทสัมผ้สกุ้งขาวที่คลุกเคล้าด้วยน้ำมันพริกไทยผสมจะมีอายุ การเก็บรักษาได้ 3 วัน ในขณะที่ตัวอย่างควบคุมจะมีอายุการเก็บรักษาเพียง 2 วัน ตัวอย่างกุ้งที่ยังยอมรับด้านคุณภาพมีค่าปริมาณด่างที่ระเหยได้ทั้งหมดอยู่ ในช่วง 12-22 mg/100g จากการสังเกตพบว่าปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดของตัวอย่างกุ้งที่ผ่านการล้างใน สารละลายในเกลืออิเล็กโตรไลท์ผสมกับน้ำมันหอมระเหยพริกไทยจะมีปริมาณต่ำกว่า ตัวอย่างควบคุมประมาณ 8-9 เท่า
             
ที่มาภาพประกอบ
puibuatip.com
thaitambon.com
rakbankerd.com